ความรู้เรื่องการกันซึม รู้ไว้เพื่อป้องกันการเจอปัญหาใหญ่ในอนาคต

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะเจอปัญหาเกี่ยวกับอาคาร หรือ ที่อยู่อาศัย ในเรื่องของ ‘น้ำรั่วซึม เป็นแหล่งสะสมความชื้น’ ปัญหาเหล่านี้ก็เกิดจากระบบกันซึม ที่ไม่ได้มาตรฐานในการก่อสร้าง การใช้วัสดุที่ไม่แข็งแรง ไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งานระยะยาว ส่งผลต่อการอยู่อาศัยในอนาคต

 

 

 

 

 

 

กันซึม คืออะไร ?

เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับคำว่า ‘กันซึม’ กัน การสร้างอาคารมีปัจจัยหลายอย่าง จะต้องกันแดด ปกป้องอาคารจากความร้อน หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ นอกจากป้องกันความร้อนแล้วก็ควรป้องกันน้ำ / ความชื้น ได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น คุณจะต้องให้ความสำคัญกับระบบกันซึม ทั้งภายนอกและภายในอาคาร  เป็นตัวช่วยที่จะช่วยปกป้องตัวอาคาร ไม่ให้น้ำเข้าไปทำลายโครงสร้าง ให้ที่อยู่อาศัยมีคุณสมบัติในการป้องกันน้ำไหลซึมเข้ามาในตัวบ้าน ซึ่งกันซึมก็มีอยู่หลายประเภท เราจะไปดูรายละเอียดของแต่ละประเภทในหัวข้อถัดไป

ประเภทของกันซึม

ประเภทของกันซึม จะแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท รายละเอียด ดังนี้

1.กันซึมประเภทสารผสมเพิ่ม ( Admixture )

ประเภทที่ 1 จะเป็นแบบสารผสมเพิ่ม ก่อนจะเริ่มดำเนินการต้องผสมสารเคมีเข้ากับร่วมกับการผสมคอนกรีต จะช่วยเพิ่มคุณสมบัติการกันน้ำให้กับตัวอาคาร เพราะสารนี้มีหน้าที่ในการลดน้ำและลดการก่อตัวของความชื้น ไม่ก่อให้เกิดความชื้นสะสม แต่สิ่งสำคัญคือ ในการผสมจะต้องให้คนที่มีทักษะ มีความรู้อย่างแท้จริง เพราะถ้าหากว่ามีอัตราส่วนผสมผิดพลาดไปเพียงเล็กน้อยจะส่งผลต่อคอนกรีต หรือวัสดุอื่น ๆ

2.กันซึมประเภท ทา / เคลือบ / ฉาบ

ประเภทที่ 2 จะเป็นแบบทา เคลือบ และฉาบลงไปบนพื้นผิว ซึ่งจะมีรายละเอียดประเภทย่อย ๆ ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • Cement Base

อย่างแรกจะเป็นกันซึมที่มีลักษณะเป็นผง และ แบบผงน้ำยาสำหรับผสม ใช้งานง่ายแค่ทาฉาบลงผิวคอนกรีต ก็สามารถป้องกันการซึมได้เป็นอย่างดี เพิ่มเติมคือสามารถป้องกันความร้อนได้ด้วย เหมาะกับการใช้ทาฉาบบริเวณดาดฟ้า หรือ ส่วนสูงสุดของตัวอาคาร รักษาวัสดุต่าง ๆ ให้ใช้งานได้ยาวนาน ใช้ได้กับทุกวัสดุ ไม่ว่าจะ ไม้ , กระจก , คอนกรีต , โลหะ ใช้ได้หมดเลย ไม่เป็นมลพิษต่ออากาศและร่างกายคน

  • Water Base

ต่อมาจะเป็นน้ำยากันซึม มาในลักษณะของน้ำยาไม่ต้องผสม ใช้ได้ทุกส่วนของอาคารทั้งภายนอกและภายในกันซึมได้ดีเยี่ยม แต่ในกรณีที่มีน้ำขังประสิทธิภาพของการกันซึมก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ

  • Sovent Base

ต่อมาจะเป็นรูปแบบของน้ำยาเคลือบใส ไร้สี ไร้สารอันตราย ช่วยปกป้องผิววัสดุจากตะใคร่ , เชื้อรา หรืออื่น ๆ เพิ่มความเงา มันวาว สวย เหมาะกับการทาลงบนพื้นอีพ็อกซี่ ใช้งานได้แค่ในอาคาร ไม่ทนแดด

3.กันซึมประเภทสร้างผลึกในเนื้อคอนกรีต ( Crystallization )

ประเภทที่ 3 คือ กันซึมผลึกในเนื้อคอนกรีต ประเภทนี้จะต้องใช้ตั้งแต่เริ่มกระบวนการก่อสร้างการสร้างโครงภายใน – ภายนอก จะมาในลักษณะผงพร้อมน้ำยา ใช้งานเหมือนประเภทแรกคือต้องผสมร่วมกับคอนกรีต ค่อนข้างได้รับความนิยมในหมวดการก่อสร้าง เพราะใช้งานง่ายแถมเป็นขั้นตอนที่รวบรัด ไม่ต้องดำเนินการหลายขั้นตอน เพียงแค่คุณผสมลงไปกับคอนกรีตให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน สารเคมีก็จะเข้าไปทำปฏิกิริยาสร้างผลึกภายใน สามารถอุดช่องว่างและรูพรุนของคอนกรีต ไม่มีฟองอากาศ เมื่อทาคอนกรีตลงไปจะป้องกันความชื้น ป้องกันการรั่วซึม สร้างความแข็งแรง แน่น เพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวอาคารแบบ x 10

4.กันซึมเมมเบรน ( Membrane )

และประเภทที่ 4 สุดท้าย คือ กันซึมเมมเบรน จะมาในรูปแบบของแผ่นพลาสติกที่มีความสามารถในการกันซึม และยังกันรอยแตกของผนัง , พื้น รวมถึง ดาดฟ้า มี 3 แบบให้เลือก ดังนี้

  • พีวีซีเมมเบรน ( PVC Membrane )

ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ ไม่ว่าจะ แดด , ลม , ฝน หรือ พายุก็เอาอยู่ สามารถป้องกันการซึมที่มาจากรอยแตกร้าวต่าง ๆ ใช้ได้ทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร

  • บิทูเทนเมมเบรน ( Bitumen Membrane )

มีประสิทธิภายในการปกปิด ซ่อมรอย ยึดเกาะดีมาก ป้องกันการซึมในอาคารหรือห้องต่าง ๆ ติดตั้งง่าย

  • โพลีเทนเมมเบรน (Polythene Waterproof Membrane)

เป็นแผ่นพลาสติดกันซึม ที่มีความหนาถึง 4 ชั้น เหมาะกับการใช้งานบริเวณพื้น

การเลือกใช้กันซึมแต่ละประเภทจะต้องคำนึงถึงปัจจัยสภาพแวดล้อม และวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เพื่อให้สามารถกันซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]