กระเบื้องเทพพนม

สร้างความวิจิตรงดงามให้กับวัดด้วยกระเบื้องเทพพนม

วัดเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล สนทนาธรรม และจัดกิจกรรมทางศาสนา สิ่งปลูกสร้างหรือศาสนสถาน ที่อยู่ภายในวัด อย่างเช่น ศาลาการเปรียญ โบสถ์ วิหาร ซุ้มประตูวัด หอระฆัง และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ จึงถูกตกแต่งให้วิจิตรงดงาม กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องฝาผนัง และกระเบื้องเทพพนม เป็นวัสดุสิ่งปลูกสร้างรูปแบบหนึ่งที่นิยมนำมาตกแต่งศาสนสถานภายในวัด ส่วนกระเบื้องเทพพนม คืออะไร สร้างความวิจิตรงดงามให้กับวัด ได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบมาให้

กระเบื้องเทพพนม
กระเบื้องเทพพนม

ความหมายของ กระเบื้อง และประเภทของกระเบื้อง

กระเบื้อง หมายถึง วัสดุสิ่งปลูกสร้างใช้สำหรับมุงหลังคา ปูพื้น ตกแต่งผนัง  เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน หรือผิวหน้าหยาบ มีพื้นหรือลวดลายเป็นสีต่าง ๆ กระเบื้องส่วนใหญ่ทำจากเซรามิก ซึ่งเคลือบเงาสำหรับใช้ภายใน และไม่เคลือบสำหรับใช้มุงหลังคา ส่วนกระเบื้องผิวหน้าหยาบใช้ภายนอกและในบริเวณที่ต้องสัมผัสน้ำหรือความชื้นอยู่เสมอ

ประเภทของกระเบื้อง และลักษณะการใช้งาน

กระเบื้อง เป็นวัสดุสิ่งปลูกสร้างที่มีหลากหลายชนิด หลายขนาด ทั้งแบบที่เคลือบและไม่เคลือบ และมีโทนสีสไตล์ต่าง ๆ ให้เลือกใช้มากมาย สามารถแบ่งประเภทและลักษณะของการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. กระเบื้องปูพื้น

กระเบื้องปูพื้น เป็นวัสดุสิ่งปลูกสร้างและตกแต่งที่มีความแข็งแรง มีทั้งเคลือบแบบผิวมันและผิวด้าน เหมาะสำหรับปูพื้นทั่วไปทั้งภายใน และภายนอก เช่น กระเบื้องเซรามิค กระเบื้องแก้ว กระเบื้องดินเผา กระเบื้องโมเสก และ กระเบื้องยาง โดยกระเบื้องปูพื้นถูกปูลงบนปูนซึ่งประกอบด้วยทราย ซีเมนต์ และสารเติมแต่งน้ำยาง ช่องว่างระหว่างกระเบื้องแต่ละแผ่นจะถูกเติมด้วยยาแนว ที่อาจถูกขัดหรือไม่ด้วยกระดาษทราย แต่โดยดั้งเดิมแล้วจะใช้ปูน และเป็นกระเบื้องที่มีค่าการดูดซึมน้ำต่ำ – ปานกลาง อยู่ที่ 3 – 6 %

  1. กระเบื้องปูผนัง

กระเบื้องปูผนัง เป็นกระเบื้องที่มีค่าการดูดซึมน้ำสูง อยู่ที่ 15 – 22% แข็งแรงไม่สูงมาก ส่วนใหญ่จะเคลือบแบบผิวมัน และมีการเคลือบสี เหมาะสำหรับบุผนังภายใน เนื่องจากส่วนใหญ่ผิวกระเบื้องมีความมัน ไม่ควรนำไปใช้ปูพื้น เพราะหากใช้ผิดประเภทกระเบื้องอาจเกิดความเสียหาย เนื่องจากรับน้ำหนักมากเกินไป หรือหากกระเบื้องเปียกน้ำจะทำให้พื้นลื่น เป็นอันตรายได้

  1. กระเบื้องมุงหลังคา

กระเบื้องมุงหลังคา เป็นแผ่นกระเบื้องซึ่งถูกนำมาใช้กับโครงสร้างบ้านหรืออาคาร กระเบื้องสำหรับใช้มุงหลังคา มีหลายประเภทแต่ละประเภทมีคุณสมบัติและข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกัน เช่น

  • กระเบื้องซีเมนต์ หรือ กระเบื้องคอนกรีต ข้อดีของกระเบื้องหลังคาประเภทนี้ ได้แก่ ช่วยระบายน้ำฝนได้ดี มีความแข็งแรงและสวยงาม
  • กระเบื้องหลังคาเซรามิก มีความสวยงามโดดเด่น คุณสมบัติของกระเบื้องหลังคาประเภทนี้ทำให้บ้านมีความเย็นสบาย
  • กระเบื้องดินเผา เป็นกระเบื้องหลังคาแบบโบราณ ทำจากดินเหนียวผ่านกระบวนการผลิตจนได้แผ่นกระเบื้องที่มีความแข็งแรง มีทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบน้ำยา

กระเบื้องเทพพนม คืออะไร

กระเบื้องเทพพนม เป็นวัสดุสิ่งปลูกสร้างที่มีความวิจิตรงดงาม เนื่องจากลวดลายบนแผ่นกระเบื้องเป็นลายเทพพนม ซึ่งมีลักษณลายเป็นภาพเทวดาประนมมือ ทั้งแบบครึ่งองค์หรือเต็มองค์ คุณสมบัติของกระเบื้องเทพพนม ได้แก่

  • เป็นกระเบื้องเนื้อกระจก Temper คือการนำกระจกธรรมดาไปผ่านกระบวนการอบที่ความร้อนสูงประมาณ 650 องศาเซลเซียส แล้วนำมาเป่าด้วยลมแรงดันสูงให้เย็นตัวลงทันที เพื่อให้กระจกเกิดความแข็งแกร่งกว่าเดิม 3-5 เท่า
  • เป็นกระเบื้องที่มีผิวหน้ามันเงา แวววาว สวยงาม
  • ลวดลายบนแผ่นกระเบื้อง เป็นลายเทพพนม หรือลายไทย ที่แสดงออกถึงความเป็นไทยกับศิลปะอันวิจิตร

กระเบื้องเทพพนม สร้างความวิจิตรงดงามให้กับวัด

จากลวดลายบนแผ่น กระเบื้อง เป็นลายเทพพนม หรือลายไทย และลวดลายศิลปะอันวิจิตรงดงาม ทำให้เหมาะกับการตกแต่งศาสนสถานภายในวัด เช่น

  • ปูพื้น หรือตกแต่งผนัง ภายในโบสถ์บริเวณหลังพระประธาน
  • ปูพื้นศาลาการเปรียญ บริเวณพระประธาน
  • ตกแต่งเสาอาคาร ที่เป็นศาสนสถานภายในวัด
  • ตกแต่งเสาหอระฆังภายในวัด
  • กระเบื้องเทพพนมมีหลายขนาด สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับประเภทของงาน เช่น งานปูพื้น หรือตกแต่งผนัง ตกแต่งเสา
  • มีหลากหลายลวดลาย และหลายสีสัน ทุกลวดลายให้ความวิจิตรงดงาม

วัดนอกจากเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล สนทนาธรรม และจัดกิจกรรมทางศาสนา ยังเป็นสถานที่พัฒนาคนให้เป็นคนดีของสังคมในรูปแบบของระพุทธศาสนา การทำนุบำรุงศาสนสถานจึงเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง และกระเบื้องเทพพนม นอกจากเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับตกแต่งภายในวัด ทั้งงานปูพื้นหรือตกแต่งผนัง ตกแต่งเสาศาลาการเปรียญ ตกแต่งผนังโบสถ์แล้ว ยังเหมาะสำหรับปูพื้นห้องพระภายในบ้านอีกด้วย

กระเบื้องเทพพนม
กระเบื้องเทพพนม

เพิ่มเพื่อน

Add Line เดอะตรีทัช

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]