เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่คนไทยให้ความสำคัญ เมื่อมีประเพณีหรือกิจกรรมทางพุทธศาสนา ก็จะพร้อมใจกันเข้าวัดทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรม รวมถึงการทำบุญก็จะมีหลายรูปแบบ หากใครคิดจะทำบุญด้วยการบูรณะศาสนสถาน บทความนี้มีกระเบื้องลายโบราณกับงานปูพื้นศาลาการเปรียญ มาแนะนำ ครับ
กระเบื้องลายโบราณ คืออะไร
กระเบื้องลายโบราณ คือ กระเบื้องปูพื้นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมีลวดลายที่โดดเด่นสวยงามแตกต่างจากกระเบื้องทั่ว ๆไป ลายบนแผ่นกระเบื้องจะเป็นแนวย้อนยุคหลากหลายสมัย นอกจากนั้นโทนสีของกระเบื้องลายโบราณ ยังบ่งบอกถึงกาลเวลาที่ผ่านมาในเเต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี
กระเบื้องลายโบราณกับงานปูพื้น ศาลาการเปรียญ
ปัจจุบันกระเบื้องลายโบราณ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่เฉพาะในงานออกแบบตกแต่งภายในและภายนอก บ้าน อาคารสถานที่ ตกแต่งร้านค้าร้านอาหารหรือเเม้เเต่ Show room ที่ต้องการตกแต่งในสไตล์คลาสสิคหรือแนวย้อนยุคเท่านั้น แต่ยังนิยมใช้กระเบื้องลายโบราณในการตกแต่งบูรณะศาสนสถาน อย่างเช่น ใช้ปูพื้นศาลาการเปรียญ ซึ่งการทำนุบำรุงศาสนสถานถือเป็นการทำบุญรูปแบบหนึ่ง
ข้อดี ของกระเบื้องลายโบราณกับงานปูพื้น ศาลาการเปรียญ
- กระเบื้องลายโบราณ มีลวดลายที่โดดเด่นงดงาม
ลายกระเบื้องมีความสวยในแบบย้อนยุค สะท้อนความเชื่อในทุก ๆ เรื่องราวที่ผ่านมาจากอดีตสู่
ปัจจุบัน เมื่อนำกระเบื้องลายโบราณมาปูพื้นศาลาการเปรียญ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่ใช้ทำกิจกรรมทางศาสนา เป็นการช่วยเพิ่มบรรยากาศในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาได้ดียิ่งขึ้น
- กระเบื้องลายโบราณ มีความแข็งแรง คงทน
ศาลาการเปรียญ เป็นศาสนสถานที่ใช้ทำกิจกรรมทางศาสนาเป็นประจำ ในแต่ละครั้งจะมีผู้
ร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เพราะศาลาการเปรียญเป็นที่สำหรับพระธรรม คือ เป็นที่เผยแผ่ธรรม จึงถูกสร้างให้กว้างใหญ่พอสำหรับเป็นที่รองรับคนจำนวนมากได้ ข้อดีของกระเบื้องลายโบราณ คือมีความแข็งแรง คงทน รับน้ำหนักได้มาก มีโทนสีที่หลากหลายสามารถเลือกลวดลายและสีสันของกระเบื้องให้เข้ากับองค์ประกอบของศาลาการเปรียญได้อย่างเหมาะสม
- กระเบื้องลายโบราณมีหลายพื้นผิวและหลายชนิด
กระเบื้องลายโบราณมีหลายพื้นผิว สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับประเภทของงาน เช่น พื้นศาลา
การเปรียญบริเวณที่มีน้ำกักขัง หรือเปียกชื้น พื้นที่ภายในที่ใช้ปฏิบัติธรรมหรือทำกิจกรรมทางศาสนา ชนิดของกระเบื้องลายโบราณที่เหมาะสำหรับงานปูพื้นศาลาการเปรียญ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ กระเบื้องลายโบราณ ชนิดผิวหน้ามัน และ ชนิดผิวหน้าหยาบ
วิธีการดูแล ทำความสะอาด กระเบื้องลายโบราณ
- การดูแลทำความสะอาดกระเบื้องลายโบราณ ชนิดผิวหน้ามัน เป็นชนิดกระเบื้องที่อาจจะเกิด
การลอกของสี และเกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย เมื่อปูพื้นศาลาการเปรียญควรเคลือบน้ำยาที่ป้องกันการเกิดรอยขีดข่วน ส่วนการทำความสะอาด ก็สามารถทำการเช็ดถูได้ตามปกติทั่วไป
- การดูแลทำความสะอาดกระเบื้องลายโบราณ ชนิดผิวหน้าหยาบ กระเบื้องลายโบราณชนิดนี้
นิยมใช้ปูพื้นศาลาการเปรียญที่อยู่ภายนอก หรือในส่วนที่ต้องสัมผัสกับน้ำหรือความชื้นอยู่บ่อย ๆ ปัญหาที่มักเกิดขึ้นก็คือเกิดคราบน้ำ รวมถึงรอยด่างหรือคราบตะกอนสีขาว การทำความสะอาดควรใช้น้ำยาล้างห้องน้ำขจัดคราบ แล้วใช้ฟองน้ำขัด ซึ่งน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นกรดจะกัดตะกอนที่สะสม เมื่อขัดเสร็จแล้วให้ล้างน้ำออกอีกครั้งก็จะทำให้พื้นกระเบื้องลายโบราณมีความเงางามเหมือนใหม่
- เลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดพื้นทั้งชนิดหน้ามัน และชนิดผิวหน้าหยาบ ทำความสะอาด ขัดเงา
หรือถูพื้นศาลาการเปรียญให้สะอาดอยู่เสมอ นอกจากช่วยให้พื้นผิวมันวาวแล้ว ยังช่วยป้องกันคราบน้ำและคราบต่าง ๆ ให้กับกระเบื้องลายโบราณชนิดผิวหน้าหยาบได้ดีอีกด้วย
กระเบื้องลายโบราณ เป็นวัสดุปูพื้นที่มิความโดดเด่นสวยงาม และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสามารถตกแต่งอาคาร สถานที่ต่าง ๆ ได้ทั้งภายในและภายนอก รวมไปถึงงานตกแต่งและปูพื้นศาสนสถานทั้งศาลาการเปรียญ สำนักสงฆ์ โบสถ์ และวิหารต่าง ๆ