กระเบื้องลายโบราณเป็นกระเบื้องอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก จากคนที่ชื่นชอบสไตล์การตกแต่งบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร ซึ่งกระเบื้องลายโบราณในปัจจุบันนี้มีการผลิตขึ้นมาด้วยกระบวนการที่ทันสมัย ทำให้มีความสวยงามและทนทานสูง ดูแลรักษาง่าย จึงมีการนำกระเบื้องดังกล่าวไปใช้ในงานตกแต่งสมัยใหม่ที่ต้องการสไตล์ในการตกแต่งที่โดดเด่นและน่าจดจำ ดังนั้นเราจึงมีไอเดียการตกแต่งพื้นที่สมัยใหม่ด้วยกระเบื้องลายโบราณมาแนะนำ กระเบื้องลายโบราณกับความลงตัวในสไตล์สมัยใหม่ กระเบื้องลายโบราณมีสีสันและลวดลายที่สวยงาม ใครเห็นก็ต้องชอบ ยิ่งเป็นกระเบื้องลายโบราณที่ผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีคุณภาพดี มีความทนทานสูง ดูแลง่าย ยิ่งทำให้ความนิยมในการใช้กระเบื้องลายโบราณสำหรับการตกแต่งบ้านมีมากขึ้น ซึ่งไอเดียการนำกระเบื้องลายโบราณมาตกแต่งบ้านสมัยใหม่ สามารถทำได้ด้วยกันหลายวิธีดังต่อไปนี้ กระเบื้องลายโบราณกับห้องน้ำ ถือเป็นความลงตัวกันอย่างมาก ซึ่งไอเดียในการใช้กระเบื้องลายโบราณในการตกแต่งห้องน้ำ มีอยู่ด้วยกันหลายแบบดังต่อไปนี้ ห้องน้ำสีขาวที่ตกแต่งผนังด้วยกระเบื้องลายโบราณโทนสีฟ้า, น้ำเงิน และขาว หรือเลือกปูพื้นด้วยกระเบื้องลายโบราณโทนสีดังกล่าว โดยไอเดียนี้ไม่จำเป็นต้องปูผนังห้องน้ำหรือพื้นด้วยกระเบื้องโบราณทั้งหมด แต่เน้นเฉพาะบางพื้นที่ เช่น โซนอาบน้ำและโซนกระจกสำหรับแต่งตัว เป็นการผสานความสมัยใหม่และความสวยงามของกระเบื้องโบราณได้เป็นอย่างดี กระเบื้องโบราณหลากสีสัน เลือกใช้ปูผนังในบริเวณส่วนอาบน้ำหรือทางเดิน เป็นไอเดียการตกแต่งที่มีความสนุกสนานและไม่จำกัดความคิดสร้างสรรค์ เคล็ดลับเช่นเดิม คือ ไม่ต้องปูผนังหรือพื้นด้วยกระเบื้องลายโบราณทั้งหมด แต่ให้เน้นใช้แค่เฉพาะบางส่วนก็พอ กระเบื้องลายโบราณกับห้องครัว เลือกกระเบื้องลายโบราณที่มีสีสันและลวดลายต่างกันปูทับเคาน์เตอร์ครัว ส่วนที่เหลือปล่อยให้เป็นสีพื้นเพื่อขับจุดเด่นของเคาน์เตอร์ออกมา กระเบื้องลายโบราณโทนสีฟ้า-ขาว ปูผนังด้านใดด้านหนึ่งของครัว เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ประกอบให้เป็นโทนสีขาว จะได้ห้องครัวในสไตล์หรูหราและมีความน่าสนใจมากขึ้น กระเบื้องลายโบราณสีสันสดใส ปูผนังสลับกับกระเบื้องลายเรียบที่ดูธรรมดา เพื่อเป็นการเล่นกับการดีไซน์ที่เพิ่มความสนุกและความคิดสร้างสรรค์ เหมาะกับคนที่ไม่อยากปูผนังด้านใดด้านหนึ่งด้วยกระเบื้องโบราณทั้งหมด แต่ต้องการแทรกดีไซน์ใหม่ ๆ ลงไปในภาพรวมเพื่อให้ดูน่าสนใจ กระเบื้องโบราณสีขาว-เทาปูพื้นในครัว คุมโทนด้วยเฟอร์นิเจอร์สีขาว-เทาเช่นเดียวกัน ให้ความรู้สึกที่หรูหราและโปร่งสบาย […]
Category Archives: กระเบื้องลายโบราณ
กระเบื้องลายโบราณคืออะไร มีความหมายและมีความแตกต่างจากกระเบื้องทั่วไปอย่างไร เชื่อเลยว่าทุกคนจะต้องมีความชื่นชอบในลวดลายของกระเบื้องที่แตกต่างกันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกระเบื้องลายโบราณ ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับกระเบื้องลายโบราณว่ามีความเป็นมายังไง แตกต่างจากกระเบื้องทั่วไปอย่างไร และมีเทคนิคการดูแลแบบง่ายๆ มาแนะนำกันด้วย เพราะฉะนั้นไปดูกันเลย กระเบื้องลายโบราณคืออะไร กระเบื้องลายโบราณคือกระเบื้องปูพื้นที่มีลายโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมีโทนสีและลวดลายแบบโบราณ ซึ่งมีความสวยงามและเหมาะกับการนำมาตกแต่งบ้านในไตล์แบบไทยๆ มากทีเดียว ที่มาของกระเบื้องโบราณ กระเบื้องเป็นวัสดุที่มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนคริสตศตวรรษที่ 13 ในยุคตะวันออกกลาง มีการค้นพบการใช้อิฐตากแห้ง ของชาวเมโสโปเตเมีย จากนั้นชาวไทกริสและยูเฟรติส จึงได้ประยุกต์อิฐตากแห้งนี้ ด้วยการเผา จนอิฐมีความแข็งแรงทนทาน และถูกนำไปใช้ในการสร้างกำแพงนอกอาคารสมัยโบราณ รวมถึงประตูและกำแพงพระราชวังในยุคนั้น ต่อมาก็ได้มีการค้นพบกระเบื้องที่มีลวดลายเรขาคณิตจากบริเวณอนุทวีปอินเดียโบราณ ซึ่งเป็นลายโบราณขัดเงาวางอยู่บนพื้นและในสระว่ายน้ำของกษัตริย์ Sri Lanka นอกจากลวดลายรูปทรงต่างๆ แล้ว ในยุคประวัติศาสตร์อิหร่านโบราณ ก็มีการค้นพบกระเบื้องเคลือบอิฐที่ตกแต่งในสถานที่ต่างๆ ที่มีลวดลายเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตทั้งคนและสัตว์ ต่อจากนั้นกระเบื้องโมเสกก็มีวิวัฒนาการอย่างโดดเด่นในเรื่องของสีสันที่ลงตัว และในยุคต่อมาผ่านวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้งยุโรป เอเชีย อิตาลี ตะวันออกกลาง จนเกิดเป็นกระเบื้องสากล ที่ให้เราสามารถออกแบบที่อยู่อาศัย ร้านค้า และอาคาร ที่สะท้อน รสนิยม ความเชื่อ และความชื่นชอบในรูปแบบของเราอย่างไร้ขีดจำกัด กระเบื้องลายโบราณมีความแตกต่างจากกระเบื้องทั่วไปอย่างไร 1.ลวดลาย กระเบื้องลายโบราณมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีลวดลายและสีสันบนพื้นผิวกระเบื้องที่หรูหราโดดเด่นอย่างชัดเจน มีพื้นผิวลื่นหรือผิวมัน ผิวมันถึงด้าน […]
กระเบื้องลายโบราณ สำหรับห้องน้ำ กระเบื้องลายโบราณเป็นวัสดุตกแต่งบ้านที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ผู้คนที่สนใจอะไรใหม่ๆและเป็นรูปแบบของสไตล์ตนเองทั้งนี้กระเบื้องลายโบราณยังสามารถปูได้ทั้งพื้นและผนัง ปูทั่วทุกบริเวณบ้าน แต่ในวันนี้ เราจะมาแนะนำกระเบื้องลายโบราณสำหรับปูห้องน้ำกัน คุณสมบัติสำคัญสำหรับการเลือกกระเบื้องลายโบราณปูห้องน้ำ การเลือกกระเบื้องสำหรับปูห้องน้ำนั้นค่อนข้างสำคัญ เพราะห้องน้ำเป็นจุดที่น้ำไหลผ่านบ่อย และถ้าเลือกกระเบื้องผิดประเภทอาจเกิดปัญหาตามที่หลัง เช่น อุบัติเหตุ เป็นต้น ฉะนั้นการเลือกกระเบื้องลายโบราณจำเป็นต้องเลือกกระเบื้องลายโบราณผิวด้านเท่านั้น หรือ กระเบื้องลายโบราณที่มีค่า R11 ที่การันตีว่าจะไม่ลื่น 100% สินค้ากระเบื้องลายโบราณและตัวอย่างการปูในห้องน้ำ กระเบื้องลายโบราณแบบ MIX กระเบื้องลายโบราณแบบ Mix ที่ปูห้องน้ำนี้เป็นกระเบื้องลายโบราณที่มีคุณสมบัติในการใช้งานในห้องย่างดี เพราะมันไม่มีความลื่นเลย เพราะกระเบื้องลายโบราณชนิดนี้ มีค่าอยู่ที่ R11 ทำให้กระเบื้องลายโบราณชนิดนี้ไม่ลื่น เเละยังเหมาะกับการปูในห้องน้ำอีกด้วย นอกจากนี้การปูกระเบื้องลายโบราณในห้องน้ำ อาจไม่ต้องใช้ค่า R11 เสมอไป เเต่ต้องใช้กระเบื้องลายโบราณแบบผิวด้านเเทน เเน่นอนว่ากระเบื้องลายโบราณแบบผิวด้านนั้น สามารถปูได้ทั้งพื้นบ้านได้ เเละ พื้นห้องน้ำได้ เพราะด้วยความที่เป็นผิวด้านทำให้กระเบื้องนั้นไม่ลื่นเหมือนกัน
ผลงานกระเบื้องภูเก็ต เเละ การตกเเต่งสไตล์ ชิโนโปตุกีส จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ยอดนิยมของภาคใต้เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นทะเล หมู่เกาะ ที่นักท่องเที่ยวมักจะมาทำกิจกรรม ในช่วงหยุดยาวของทุกๆปี นอกจากนี้ จังหวัดภู่เก็ตยังมีประวัติ ในเรื่องของการตกแต่งที่ย้อนยุคหรือเรียกว่า สไตล์ชินโนโปตุกีส ชิโนโปตุกีส คือ สถาปัตฯที่เกิดจาก สามสัญชาติด้วยกันคือ จีน โปรตุกส และ มลายู โดยชาวโปตุเกสได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน และทำการค้ากับบริเวณเมื่องท่ามะละกา และได้นำเอาศิลปวัฒธรรม ของตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ และได้สร้างบ้าน สถาปัตฯ ตามรูปแบบของเขา แต่ต่อมาช่างชาวจีนได้ตกแต่งลวดลายสัญลักษณ์รวมถึงลักษณ์รูปแบบบางส่วนของตัวอาคาร โดยสถาปัตฯเหล่านี้ จึงเกิดการผสมผสานของ จีนและโปรตุเกส ขึ้นมา ต่อมา เมื่อชาวดัตซ์และอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ ก็ได้ปรับปรุงรูปแบบของอาคารและเพิ่มเติมลวดลายเข้าไป และทำให้เกิดมีชื่อเรียกของลักษณ์การก่อสร้างอาคารเหล่านี้ สถาปัตฯ จีน-โปรตุเกส คำว่า Shino หมายถึงคนจีน และ Protuguese แปลว่า โปรตุเกส ในประเทศไทยสถาปัตฯ Sino-Portuguese จะพบเจอได้ในในจังหวัดภูเก็ต ระนอง กระบี่ พังงา ตะกั่วปา […]
- 1
- 2